เรื่อง วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ความหมายของวัฒนธรรมในองค์การ
ได้มีผู้ให้นิยามวัฒนธรรมองค์การหลายคน ดังสรุปในตารางต่อไปนี้
คือค่านิยมหลัก (core value) ที่คนยึดถือร่วมกันอย่าง มั่นคงและแพร่หลายทั่วไป ( เจ.ซี. สเป็นเดอร์ (J.C. Spender))
คือแนวทางการประพฤติและวิธีปฏิบัติที่เราใช้อยู่เป็น ประจำ (ที.อี.ดีล และ เอ.เอ. เคนเนดี้)
หมายถึงความเข้าใจร่วมของกลุ่ม ซี.โอ.ไรลลี (C.O. Reilly)หมายถึง กลุ่มของความเชื่อที่ถาวร ซึ่งมีการสื่อความ หมายในรูปของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นความ หมายที่คนในองค์การสามารถเข้าใจได้ตรงกัน (เจ. แวน มาเนน และ เอส.อาร์บาร์เลย์ )
หมายถึงสัญลักษณ์ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่ง แฝงด้วยค่านิยมและความเชื่อขององค์การ เพื่อถ่ายทอด ให้แก่พนักงาน (เจ.เอ็ม.คูซส์, ดี.เอฟ.คอลเวลและบี.ซี. พอสเนอร์ )
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
ลินดา สเมอร์ซิช เห็นว่านิยามวัฒนธรรมองค์การทั้งหลายนั้นมีที่มาจากความคิดพื้นฐาน 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ (culture as a variable) และแนวทางที่เห็นว่าองค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรมๆ หนึ่ง (culture as a root metaphor) แนวทางแรก ที่เห็นวัฒนธรรมองค์การเป็น พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ และเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวที่องค์การมีอยู่ (ตัวแปรอื่นๆ เช่น โครงสร้างองค์การเทคโนโลยี ฯลฯ) แนวทางแรกจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “culture is something an organization has” ส่วนแนวทางหลัง เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นความคิด ความเชื่อ ที่อยู่ภายในจิตใจ ของคนกลุ่มหนึ่งและไม่ใช่เป็นเพียงตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ แต่ตัวองค์การเองทั้งหมดคือวัฒนธรรมๆ หนึ่ง หรืออุปมาได้ว่าเปรียบเสมือนวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนาองค์การ
1. ความรับผิดชอบและสำนึกในความรับผิดชอบ(Responsibility & Accountability)
กล่าวคือพนักงานในองค์กรของท่านปัจจุบันนี้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอยู่ และงานที่จะต้องมีสำนึกในความรับผิดชอบ
2. สำนึกในการให้บริการลูกค้า โดยการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (Service Mind & Customer Centric) เพราะเดี๋ยวนี้เขาหมดสมัยที่จะผลิตสินค้าหรือบริการออกมาเป็นจำนวนมาก ๆ แบบ Mass Production โดยไม่คำนึงว่าลูกค้ามีความต้องการหรือไม่แล้วนะคะแต่ต้องดูที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจึงสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่โดนใจลูกค้าต่างหาก
3. การทำงานเป็นทีม (Teamwork) เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยนะครับถ้าในองค์กรยังทำงานไม่ประสานกันแล้วจะไปพร้อมให้บริการลูกค้าได้อย่างไร
4. ยึดถือระบบคุณธรรม (Merit System) โดยพยายามขจัดระบบเส้นสายพวกพ้องออกไป และพิจารณาในเรื่องความรู้ความสามารถของพนักงานเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องนี้ในหลาย ๆ องค์กรเขาจะใช้ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกผู้สมัครงานเข้ามาทำงานเลยนะครับ โดยจะพิจารณาถึงคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานหรือที่เรียกกันว่า Competency ไงล่ะครับ
5. ส่งเสริมในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking หรือ Innovation) ในองค์กรของท่านควรมีบรรยากาศของการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นะครับ เพราะหลายครั้งความคิดที่ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้นั้นมักเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ มามากต่อมากแล้วนะครับ
6. ความรวดเร็วในการทำงาน (Responsiveness)
ทั้งในการปฏิบัติงานภายใน และความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า
7. การเปิดใจรับคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น (Openness)
8. ความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง (Assertiveness)
9. การสื่อสารที่ดีในองค์กร (Communication) ฯลฯ
กล่าวคือพนักงานในองค์กรของท่านปัจจุบันนี้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอยู่ และงานที่จะต้องมีสำนึกในความรับผิดชอบ
2. สำนึกในการให้บริการลูกค้า โดยการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (Service Mind & Customer Centric) เพราะเดี๋ยวนี้เขาหมดสมัยที่จะผลิตสินค้าหรือบริการออกมาเป็นจำนวนมาก ๆ แบบ Mass Production โดยไม่คำนึงว่าลูกค้ามีความต้องการหรือไม่แล้วนะคะแต่ต้องดูที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจึงสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่โดนใจลูกค้าต่างหาก
3. การทำงานเป็นทีม (Teamwork) เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยนะครับถ้าในองค์กรยังทำงานไม่ประสานกันแล้วจะไปพร้อมให้บริการลูกค้าได้อย่างไร
4. ยึดถือระบบคุณธรรม (Merit System) โดยพยายามขจัดระบบเส้นสายพวกพ้องออกไป และพิจารณาในเรื่องความรู้ความสามารถของพนักงานเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องนี้ในหลาย ๆ องค์กรเขาจะใช้ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกผู้สมัครงานเข้ามาทำงานเลยนะครับ โดยจะพิจารณาถึงคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานหรือที่เรียกกันว่า Competency ไงล่ะครับ
5. ส่งเสริมในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking หรือ Innovation) ในองค์กรของท่านควรมีบรรยากาศของการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นะครับ เพราะหลายครั้งความคิดที่ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้นั้นมักเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ มามากต่อมากแล้วนะครับ
6. ความรวดเร็วในการทำงาน (Responsiveness)
ทั้งในการปฏิบัติงานภายใน และความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า
7. การเปิดใจรับคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น (Openness)
8. ความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง (Assertiveness)
9. การสื่อสารที่ดีในองค์กร (Communication) ฯลฯ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
สำหรับรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ผู้เขียนได้นำมิติที่กล่าวไว้ข้างต้นเสนอแนะพอสังเขปซึ่งขอเรียกว่า“กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ” เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งให้ผู้อ่านได้พิจารณาดังนี้
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงและวัฒนธรรมมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ ซึ่งอาจตั้งคำถามว่าแผนงานหรือโครงการใดที่จะช่วยเน้นย้ำให้คนในองค์การเกิดความภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมองค์การมากยิ่งขึ้น ?
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงแต่วัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ ซึ่งอาจตั้งคำถามว่าค่านิยมอะไรหากคนในองค์การยึดถือปฏิบัติแล้วจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้องค์การประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ?
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำและวัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน เกิดวัฒนธรรมย่อย ๆ ที่หลากหลาย มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ขวัญกำลังใจถดถอย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำแต่วัฒนธรรมองค์การมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นมักติดตรึงไปกับกลุ่มและเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยากอย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตในโรงงานแห่งหนึ่ง จากการทำงานด้วยมือและอุปกรณ์อย่างง่ายมาเป็นการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้วัฒนธรรมในโรงงานดังกล่าวเปลี่ยนไป
1. เป็นค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมร่วมของกลุ่มคน
2. เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสม
3. เป็นสิ่งที่สมาชิกองค์การเรียนรู้จากการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น
4. เป็นสิ่งที่สมาชิกองค์การไม่ค่อยตระหนักถึง
5. การสื่อสารถึงวัฒนธรรมองค์การพึ่งพาการใช้สัญลักษณ์
6. เป็นสิ่งที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้
อ้างอิง
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กรุงเทพมหานคร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น