...

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินใช้เครื่องมือบล็อก


ประเมิน การใช้เครื่องมือบล็อก
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
        รู้สึกว่าได้ความรู้มาก ทั้งจากเนื้อหาเทคนิคต่างๆในการจัดการชั้นเรียนและการสืบค้นข้อมูลที่สนุกและทันสมัยการทำงานแต่ละชิ้นผมคิดว่าได้ความรู้และมีความจำเป็นมากที่จะน้ำข้อมูลมาใช้ในการปรับการเรียนการสอน
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
จากการเรียนผมได้รู้เทคนิคและความรู้ต่างๆมากมายคือ
1.การทำบล็อกและการตกแต่งให้สวยงามตลอดจนการเขียนข้อความลงในบล็อก
            2.เทคนิคและวิธีการใส่ภาพลงในบล็อกทั้งแบบ ภาพ Slide และการใส่ภาพแบบ VDEO
            3.การเรียนรู้เรื่องเครื่องมือหมวกหกใบ กับการนำมาใช้ในการเรียนการสอน
            4.เทคนิคการลิ้งข้อมูล
            5.การใช้เครื่องมือประเมินที่ทันสมัยกับบล็อก
            6.เทคนิคและวิธีการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพในการทำหัวบล็อก
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการ เรียนรู้
มีความสะดวกมากที่สุดเพราะเราสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าอยู่ที่ไหนและข้อมูลนี้ยังสามารถเก็บไว้ได้ตลอดเราสามารถใส่ข้อมูลต่างเอาไว้ข้อมูลก็จะยังอยู่ไปตลอดไม่หายไปไหนผมจึงคิดว่าการเรียนแบบนี้สะดวกและทันสมัยที่สุดที่ที่ผมเคยเรียนรู้มา

การสอบครั้งที่ 2


                   คำศัพท์

1.Classroom Management หมายถึง     การบริหารจัดการในห้องเรียน คือ เป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
 2. Happiness หมายถึง กิจกรรมที่ ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ กระบวนการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Life-long Education หมายถึง การศึกษาตลอดชีวิต คือ การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4. formal Education หมายถึง การศึกษาในระบบ  คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education หมายถึง การ ศึกษานอกระบบ คือ การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก

6.   e-Learning  หมายถึง การเรียน การสอนในลักษณะ ใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น 7. graded  หมายถึง  ผู้สำเร็จการศึกษา
8.  Policy education หมายถึง  เรื่องการ เมือง และเรื่องการศึกษา ความเข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป
9. Vision  หมายถึง การสร้าง ภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคต
10. Mission หมายถึง(ภารกิจ) เป็นการบอกถึงลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนิน อยู่ และสิ่งที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันและทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปข้างหน้า

11.(GOAL)   คือสิ่งที่เรา ต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้อง อยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง
12. (Objective)   หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13 Backward Design   คือ เป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง
14.  Effectiveness  หมายถึง การบรรลุถึงวัถตุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่ต้องการ  คือมองตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
15.  Efficiency  หมายถึง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด  และเกิดประโยชน์สูงสุด
16.  Economy   หมายถึง ความมัธยัสถ์
17. Equity   คือผลรวมของ คุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ ความเชื่อมั่น คือ Trust ที่สามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่า ในขณะที่ความคาดหวัง
18. Empowerment  คือการทำ ให้เกิด ทำให้มี ทำให้ตระหนัก ทำให้เชื่อมั่น ทำให้ได้ใช้ ได้พัฒนา "ศักยภาพ" ที่มีอยู่ในตน ให้แปรรูปออกมาเป็นพลังที่สร้างสรรค์
19. Engagement  คือ การสร้างความเชื่อมั่น และผูกพันกับแบรนด์อย่างลึกซึ้งของลูกค้าที่พร้อมมีส่วนร่วมในการช่วยแบรนด์ สร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
20.  project  คือ  กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วย กิจกรรมหลายๆกิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
21. Activities
คือ      เครื่องมือที่จะช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้อันนี้จะแตกต่างจากอุปกรณ์การ เรียน การสอนของครูที่มีในโรงเรียนทั่วไป ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ช่วยทุ่นแรงครูเท่านั้นแต่อุปกรณ์ทุกชิ้น มีวามหมาย ล้ำลึก ยิ่งกว่า และถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้า
22. Leadership   หมายถึง ภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
23. leaders   คือผู้ที่ ปฏิบัติงานโดยเน้นเรื่อง ความมีประสิทธิผล’’
24.  Follows  คือ การ ติดตามหลักการออกแบบ ที่รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอยนั้น เป็นระเบียบวิธีการออกแบบที่ถือปฏิบัติอย่างกว้างขวางของสถาปนิกและนักออก แบบ
25.  Situations  คือ  สถานการณ์
26.  Self awareness  คือ การรู้จักตน การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27.  Communication  คือ  การสื่อสาร กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28.  Assertiveness หมายถึง [การ ,ความ]ซึ่งยืนยันอย่างมั่นใจ
29. Time management หมายถึง ความสามารถในการจัดการค่าจ้าง
30. Posdcorb  หมายถึง กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การใน ต้นยุคของศาสตร์การบริหาร
 P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31.  Formal Leaders คือ  ผู้ นำที่มีการแต่งตั้งขึ้น โดยอาจผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานหรือผู้บริหารในองค์กร จึงมีหน้าที่ดำเนินการโดยบทบาทและกฎระเบียบของหน่วยงาน
32.  Informal Leaders  คือ ผู้นำที่ไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือมีหน้าที่ในเชิงของการบริหาร หรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา แต่กลับได้รับการยกย่องหรือมีการยอมรับให้เป็นผู้นำ จากเพื่อนหรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ซึ่งบุคคลนั้นอาจมีคุณสมบัติบางอย่างวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ นิสัยใจคอ ที่ก่อให้เกิดผู้นำแบบไม่เป็นทางการขึ้น
33.  Environment  คือ  สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34.  Globalization  คือ  โลกา ภิวัตน์  กระบวนการที่ทำให้มวล มนุษยชาติเกิดการลดความแตกต่างอันเกิดจากพื้นที่และการสื่อสาร ที่ทำให้เราเสมือนอยู่ในโลกที่เล็กลง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสารและเกิดความเป็นสากล หรือลดความแตกต่างของคนและสังคมในแต่ละท้องที่ที่ห่างไกลกัน
33.  Competency  คือ  ความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34.  Organization Cultural  วัฒนธรรมองค์การ (หมายถึง ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมี อิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ
35.  Individual Behavior  คือ  พฤติกรรมบุคคลคือการกระทำของแต่ละ บุคคล
36.  Group Behavior  คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่าง บุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล
37.  Organization Behavior  คือ  พฤติกรรม องค์กร  รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับ สาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working  คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกัน และมีการพึ่งพา ต่อ กันและกันและใช้ความทักษะความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39.  Six Thinking Hats  หมายถึง การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน
40.  Classroom Action Research หมายถึง การวิจัย อากัปกิริยาห้องเรียน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบครั้งที่1

1.Classroom management นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เข้าใจว่า การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง  การจัดสภาพของห้องเรียนให้มีความน่าอยู่ มีความสดวกสบาย  ให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียน และ การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญ
เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการการเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้

 

2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐาน วิชาชีพครู  คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ วิชาชีพภายใต้ข้อกำหนดของคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
            1.มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1)      วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง
2)     วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือ
ฝึกอบรม วิชาชีพทาง    การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3)       ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินการปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
2.มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน  ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

3.มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน  ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1)  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์  โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2)  ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3)  ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
                           6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7)  ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8)  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9)  ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย


3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ข้าพเจ้า คิดว่าการจัดชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นนอกจากครูที่เป็นผู้จัดการเรียนการสอนแล้วยังต้องจัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นที่น่าสนใจ สนุกสนาน โดยได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง คือ
-ภายในห้องเรียน เน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีมุมประสบการณ์ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุมประสบการณ์ เช่น มุมบ้าน มุมหนังสือ มุมดนตรีเป็นต้น และทางโรงเรียนจะจัดทำห้องน้ำห้องส้วมไว้ภายในห้องเรียน เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
-ภายนอกห้องเรียน จัดตกแต่งสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสวนหย่อมหน้าห้องเรียน เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น ทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็นระเบียบสวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมี  ความสุข

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
1 การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
จัดตกแต่งสภาพแวดล้อม ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสวนหย่อมหน้าห้องเรียน เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็นระเบียบสวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมี  ความสุขซึ่งอาจจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามแนวการจัด
2 สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย
สภาพอาคารเรียนควรเน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีการจัดเป็นมุมต่างๆ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุมประสบการณ์ เช่น มุมหนังสือ มุมดนตรี และในส่วนของความปลอดภัยทางโรงเรียนจะต้องจัดการซ่อมแซมและปรับปรุงส่วนต่างๆให้มีความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจ อย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนตามความเข้าใจของข้าพเจ้าคือการจัดการเรียนการสอนแล้วเด็กมีความรู้ สามารถทำข้อสอบได้คะแนนดี และที่สำคัญคือการสอบเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้ถือว่า มีการพัฒนาเด็กได้อย่างมีคุณภาพแล้วและยังส่งผลต่อเนื่องถึงชีวิตในอนาคต
ตัวอย่าง เช่น นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่งได้คะแนนระดับดี ถือเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพผู้เรียน และยังสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้เป็นจำนวน
มาก ถือเป็นผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา และการที่ศิษย์เก่าของโรงเรียนไปประสบ
ความสำเร็จในอาชีพการงาน ก็ถือเป็นผลลัพธ์ต่อเนื่องกันไป ส่วนผลลัพธ์ของการจัดการศึกษาในภาพรวม
สร้างความเจริญแก่ ประเทศ ตลอดจนเป็นตัวแทนของประเทศ ไป แข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ส่วนหนึ่งอันเกิดจากคุณภาพที่ได้รับจากการศึกษาที่มีคุณภาพ

6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียน รู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
มีวิธีที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียนคือ
ผมขอนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน มีสาระสำคัญคือ
        1.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน มีหน้าที่ในการสำรวจและให้คำปรึกษาตลอดจนมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และจัดอบรมส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในบางโอกาส
2.สนับสนุนการจัดตั้งชุมนุมจริยธรรมและดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
3.จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น รักสถานที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่พึงประสงค์ได้เอง
4.มีกิจกรรมผึกให้นักเรียนทำสมาธิอย่างถูกวิธี เพื่อนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่14

การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
วิธีการสอนโดยใช้ Mind Mapping
การนำเข้าสู่การเรียนรู้ ก็คือพยายามเชื่อมโยงความคิดรวบยอด ของการเรียนระหว่าง Mind Map กับ ประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง จากนั้นเริ่มนำเข้าสู่ประเด็น มีวิธีคือ
1.เลือกเรื่องที่จะทำ
2.หาภาพประกอบ
3.วางแผนรูปแบบ
4.ลงมือเขียนแผนที่
        ขั้นตอนในการเขียน
             1.เตรียมกระดาษเปล่าและวางกระดาษแนวนอน
             2.เขียนคำหรือข้อความเรื่องที่จะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ
             3.คิดถึงหัวเรื่อง (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย ลงบนเส้น
             4.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญย่อยออกไป
             5. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียน และเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
ข้อดีของการสอนแบบ Mind Mapping
    1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
    2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
    3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
    4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
    5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้ เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ เครื่องมือหมวก 6 ใบ
   1. หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลที่เป็นกลาง มีลักษณะเป็นปรนัย ถ้าสมาชิกสวมหมวกสีขาวจะ หมายถึง การขอร้องให้สมาชิกคนอื่นเงียบ ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใด ผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริง ความรู้ หรือข้อมูลแก่สมาชิก
   2. หมวกสีแดง สีแดงแทนความรู้สึก อารมณ์ สัญชาตญาณ ความหยั่งรู้ ถ้าสวมหมวกสีแดง คือต้องการให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนต่อเรื่องราวหรือปัญหานั้น ๆ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี กลัว ชื่นชม สงสัย
   3. หมวกสีดำ เป็นสีมืดครึ้ม จึงแสดงความคิดทางลบ เหตุผลในการปฏิเสธ การคิดแบบหมวกสีดำช่วยป้องกันไม่ให้คิดหรือตัดสินใจอย่างง่าย ๆ การสวมหมวกสีดำคือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ทำให้สามารถ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้า
   4. หมวกสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่สว่างไสว จึงแทนสิ่งที่ถูกต้องหรือ การให้กำลังใจ หมวกสีเหลืองจึง หมายถึงเหตุผลทางบวก การสร้างความมั่นใจ เหตุผลในการยอมรับหรือประโยชน์ การสวมหมวกสีเหลือง คือ ความต้องการข้อมูลด้านบวก จุดเด่น คุณค่า ประโยชน์ต่อส่วนรวม
   5. หมวกสีเขียว เปรียบสีเขียวกับธรรมชาติ คือ ความเจริญเติบโต ความคิดใหม่ หมวกสีเขียวคือ การหลีกความคิดเก่า ๆ มุมมองเก่า ๆ ไปสู่ความคิดใหม่ มุมมองใหม่ ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ทุกชนิด ทุกประเภท
   6. หมวกสีฟ้า เปรียบสีฟ้าเหมือนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง หมวกสีฟ้า จึง หมายถึงการควบคุมและจัดระเบียบกระบวนการและขั้นตอนการใช้หมวกสีอื่น ๆ
แนวคิดของ "หมวกความคิด 6 ใบ" สามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกระดับ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อาจใช้สื่อคือหมวก 6 ใบ ที่เป็นรูปธรรม คือ มีหมวกตามสีต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นสื่อการสอน แต่ถ้าเป็นการสอนในระดับอุดมศึกษา ไม่จำเป็นต้องใช้หมวกจริง เพียงแต่ทำความเข้าใจแนวคิดและความหมายของหมวกแต่ละ สีว่าเป็นการกำหนดให้นักศึกษาอภิปรายหัวข้อเรื่องหรือประเด็นนั้นในแนวคิดใด ก็เพียงพอแล้ว เพราะเมื่อนักศึกษาได้รับการฝึกฝนให้ใช้ระบบ การคิดแบบคู่ขนานบ่อย ๆ ในที่สุดเขาจะสามารถเชื่อมโยงสี ของหมวกกับแนวคิดที่เขาจะอภิปรายได้อย่างคล่องแคล่ว

เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกัน คือ
      แตกต่างกันคือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของเครื่องมือหมวก 6 ใบต้องการให้เด็กมีการเชื่อมโยงความคิดมีการสมุติเป็นสถานการณ์ตางๆโดยสมมุติว่ากำลังสวมหมวกสีอะไรอยู่แล้วมีความรู้สึกอย่างไร ตามความหมายของสีนั้น ส่วนกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโครงงานมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ทางทฤษฎีที่มีความเข้าใจยากกว่าซับซ้อนกว่ากระบวนการคิดจึงแตกต่างกัน