...

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 9

โทรทัศน์ครูเรื่อง พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
เป็นประเด็นสำคัญ ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนโทรทัศน์ครูเรื่อง พิพิธภัณฑ์มีชีวิต อ.สุรเศรษฐ์ บุญเกตุ
การจัดการเรียนการสอนเรื่อง พิพิธภัณฑ์มีชีวิตมีใจความสำคัญคือ การให้นักเรียนมีโอกาสเข้าไปศึกษาในสถานที่จริงได้เห็นและเรียนรู้สิ่งที่เป็นจริงมากกว่าเรียนในหนังสือตลอดจนให้นักเรียนได้เข้าไปเลือกที่จะศึกษาประเด็นที่น่าสนใจและเข้าไปศึกษาหาข้อมูลจากสถานที่จริงจากผู้ที่มีความรู้ในชุมชน
หากไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร
    ครูต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมและเนื้อหาการเรียนการสอนน่าสนใจเช่นใน วีดีทัศน์เรื่องพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่มีการให้นักเรียนมีโอกาสเข้าไปศึกษาในสถานที่จริงมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้กับคนในชุมชน ตลอดจนครูเป็นผู้คอยชี้นำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง
จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้
     นำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจากหลายๆบุคคลมาปรับใช้ให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวของเราเองและถ่ายทอดให้นักเรียนได้ศึกษามีความสนุกและเกิดความอยากที่จะเรียนอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)

ความหมายของวัฒนธรรมในองค์การ
ได้มีผู้ให้นิยามวัฒนธรรมองค์การหลายคน ดังสรุปในตารางต่อไปนี้
Ÿ คือค่านิยมหลัก (core value) ที่คนยึดถือร่วมกันอย่าง มั่นคงและแพร่หลายทั่วไป   ( เจ.ซี. สเป็นเดอร์ (J.C. Spender))
Ÿ คือแนวทางการประพฤติและวิธีปฏิบัติที่เราใช้อยู่เป็น ประจำ      (ที.อี.ดีล และ เอ.เอ. เคนเนดี้)
Ÿ หมายถึงความเข้าใจร่วมของกลุ่ม   ซี.โอ.ไรลลี (C.O. Reilly)หมายถึง กลุ่มของความเชื่อที่ถาวร ซึ่งมีการสื่อความ หมายในรูปของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นความ หมายที่คนในองค์การสามารถเข้าใจได้ตรงกัน    (เจ. แวน มาเนน และ เอส.อาร์บาร์เลย์ )
Ÿ หมายถึงสัญลักษณ์ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่ง แฝงด้วยค่านิยมและความเชื่อขององค์การ เพื่อถ่ายทอด ให้แก่พนักงาน   (เจ.เอ็ม.คูซส์, ดี.เอฟ.คอลเวลและบี.ซี. พอสเนอร์ )
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
ลินดา  สเมอร์ซิช  เห็นว่านิยามวัฒนธรรมองค์การทั้งหลายนั้นมีที่มาจากความคิดพื้นฐาน 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ (culture as a variable) และแนวทางที่เห็นว่าองค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรมๆ หนึ่ง (culture as a root metaphor) แนวทางแรก ที่เห็นวัฒนธรรมองค์การเป็น พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ และเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวที่องค์การมีอยู่ (ตัวแปรอื่นๆ เช่น โครงสร้างองค์การเทคโนโลยี ฯลฯ) แนวทางแรกจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “culture is something an organization has” ส่วนแนวทางหลัง เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นความคิด ความเชื่อ ที่อยู่ภายในจิตใจ ของคนกลุ่มหนึ่งและไม่ใช่เป็นเพียงตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ แต่ตัวองค์การเองทั้งหมดคือวัฒนธรรมๆ หนึ่ง หรืออุปมาได้ว่าเปรียบเสมือนวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนาองค์การ
1. ความรับผิดชอบและสำนึกในความรับผิดชอบ(Responsibility & Accountability)
กล่าวคือพนักงานในองค์กรของท่านปัจจุบันนี้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอยู่ และงานที่จะต้องมีสำนึกในความรับผิดชอบ
2. สำนึกในการให้บริการลูกค้า โดยการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (Service Mind & Customer Centric) เพราะเดี๋ยวนี้เขาหมดสมัยที่จะผลิตสินค้าหรือบริการออกมาเป็นจำนวนมาก ๆ แบบ Mass Production โดยไม่คำนึงว่าลูกค้ามีความต้องการหรือไม่แล้วนะคะแต่ต้องดูที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจึงสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่โดนใจลูกค้าต่างหาก
3. การทำงานเป็นทีม (Teamwork) เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยนะครับถ้าในองค์กรยังทำงานไม่ประสานกันแล้วจะไปพร้อมให้บริการลูกค้าได้อย่างไร
4. ยึดถือระบบคุณธรรม (Merit System) โดยพยายามขจัดระบบเส้นสายพวกพ้องออกไป และพิจารณาในเรื่องความรู้ความสามารถของพนักงานเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องนี้ในหลาย ๆ องค์กรเขาจะใช้ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกผู้สมัครงานเข้ามาทำงานเลยนะครับ โดยจะพิจารณาถึงคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานหรือที่เรียกกันว่า Competency ไงล่ะครับ
5. ส่งเสริมในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking หรือ Innovation) ในองค์กรของท่านควรมีบรรยากาศของการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นะครับ เพราะหลายครั้งความคิดที่ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้นั้นมักเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ มามากต่อมากแล้วนะครับ
6. ความรวดเร็วในการทำงาน (Responsiveness)
ทั้งในการปฏิบัติงานภายใน และความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า
7. การเปิดใจรับคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น (Openness)
8. ความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง (Assertiveness)
9. การสื่อสารที่ดีในองค์กร (Communication) ฯลฯ

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
สำหรับรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ผู้เขียนได้นำมิติที่กล่าวไว้ข้างต้นเสนอแนะพอสังเขปซึ่งขอเรียกว่ากลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งให้ผู้อ่านได้พิจารณาดังนี้
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงและวัฒนธรรมมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ ซึ่งอาจตั้งคำถามว่าแผนงานหรือโครงการใดที่จะช่วยเน้นย้ำให้คนในองค์การเกิดความภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมองค์การมากยิ่งขึ้น ?
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงแต่วัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ ซึ่งอาจตั้งคำถามว่าค่านิยมอะไรหากคนในองค์การยึดถือปฏิบัติแล้วจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้องค์การประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ?
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำและวัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน เกิดวัฒนธรรมย่อย ๆ ที่หลากหลาย มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ขวัญกำลังใจถดถอย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำแต่วัฒนธรรมองค์การมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
                วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นมักติดตรึงไปกับกลุ่มและเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยากอย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตในโรงงานแห่งหนึ่ง จากการทำงานด้วยมือและอุปกรณ์อย่างง่ายมาเป็นการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้วัฒนธรรมในโรงงานดังกล่าวเปลี่ยนไป
                  1.      เป็นค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมร่วมของกลุ่มคน
2.      เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสม
3.      เป็นสิ่งที่สมาชิกองค์การเรียนรู้จากการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น
4.      เป็นสิ่งที่สมาชิกองค์การไม่ค่อยตระหนักถึง
5.      การสื่อสารถึงวัฒนธรรมองค์การพึ่งพาการใช้สัญลักษณ์
6.      เป็นสิ่งที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้

อ้างอิง
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กรุงเทพมหานคร.

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การ เป็นนครูมืออาชีพคือ ครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอยางสม่ำเสมอและ ต่อเนื่องเพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการ
สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสรางองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสําคัญและสามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 สิ่งที่ครูควรพิจารณาและ คํานึงถึงนอกเหนือจากความเชื่อของครูเองแล้ว รูปแบบของการจัดชั้นเรียนยังต้องเหมาะสมกันสภาพลักษณะนิสัยของนักเรียน ความเชื่อคานิยม พื้นฐานที่เป็น วัฒนธรรมประเพณีของไทย การยอมรับหรือความคาดหวังของสังคม ชุมชน ผู้ปกครองที่มีตอนักเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมประเทศชาติ ดังนั้นหน้าที่ของครูมืออาชีพ คือศึกษาความเปนไปไดและเลือกแนวทางที่สอดคลองเหมาะสม ทุก ๆ ดานแล้วจึงกําหนดเป็นแนวทางการสร้างวินัยในชั้นเรียนของตนเพราะองเรียนแต่ละหองก็จะมีลักษณะของการจัดการที่แตกตางกันไปตามบริบทของชุมชนของสถานศึกษาแต่ละแห

มีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร 
1 การจัดเก็บ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในชั้นเรียน
2 การกําหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของนักเรียนในชั้นเรียน
3 การกําหนดกฎระเบียบในชั้นเรียนตั้งแต่วันแรกของการศึกษา
4 การเริ่มและการสิ้นสุดการสอนด้วยความราบรื่น
5 การจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนในระหว่างชั่วโมงเรียน
6 การจัดการเกี่ยวกับการทํากิจกรรมของนักเรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนการเรียนให้น้อยที่สด
7 การดําเนินงานให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ครูได้กําหนดหรือวางแผนไว้
8 การดําเนินการเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคน

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

มาตรฐานวิชาชีพ
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า มาตรฐานวิชาชีพนั้น หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูง
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย

การนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
มาตรฐานวิชาชีพครู ก็ไม่แตกต่างจากมาตรฐานวิชาชีพทั่วไป คนที่เป็นครูมีหน้าที่ฝึกฝนฝึกทักษะให้แก่นักเรียน ไปตามเกณฑ์ที่เป็นเงื่อนไขของคุรุสภา และมามารถปรับเปลี่ยนปรับยุกต์รูปแบบการเรียนการสอนได้ตามกรอบที่คุรุสภากำหนด  เช่น
-                   ครูเป็นผู้มีจรรยาบรรณ อบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความรัก
-                   ครูมีคุณธรรมจริยธรรมในการตัดสินผลคะแนนต่างๆ
-                   เป็นแบบอย่างแก่นักเรียน
-                   สั่งสอนนักเรียนตามกรอบของเนื้อหาที่มีการกำหนดไว้จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

สรุป เรื่องครูต้นแบบ
คำว่าครูต้นแบบนั้นเข้ามาในวงการการศึกษาของเราจึงจำเป็นที่เราต้องรู้ว่า ต้นแบบ มันเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไรแล้วมีประโยชน์อย่างไรต่อวงการการศึกษาดั้งนั้นจึงควรทราบความหมายของคำว่า ต้นแบบ กันก่อนซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้เช่น พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
            นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
            นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล
กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ  
ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ
ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
สิ่งที่ได้รับ                จากการอ่านบทความนี้ทำให้เข้าใจว่าผู้เขียนต้องการให้เราเข้าใจว่า ต้นแบบที่ดีนั้นต้องมีลักษณะอยู่สองแบบคือ เป็นต้นแบบที่สอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดูและต้นแบบอยู่ให้เห็น
สามารถนำไปใช้ประโยชน์                   ในวันข้างหน้าหากเราได้จบการศึกษาไปทำการเรียนการสอนคงได้ดูแลสั่งสอนและเป็นต้นแบบที่ดีให้นักเรียนเห็นแต่หากไม่ได้เป็นครูสอนเด็กวันข้างหน้าเราต้องโตขึ้นอยู่ในสังคม มีลูกมีหลานเราก็สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกให้หลานของเราได้

กิจกรรมที่ 4

สรุปเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงมีหลักการคือหลักทางด้านการจัดการ คือการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ ซึ่งการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต  อีกแง่มุมหนึ่งนั้นคิดว่าอยู่ที่ตัวของบุคคลด้วยเช่นกันการที่จะบุคคลจะก้าวมาเป็นผู้นำจะต้องสร้าง ความศรัทธาให้คนยอมรับนับถือด้วยคือการเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับมีความจริงใจกับทุกคน เท่ากับเป็นการซื้อใจคนอื่นไปด้วย
สิ่งที่ได้รับ       การได้มาซึ่งฐานะความเป็นผู้นำนั้นหากเป็นองค์กร จะ ต้องเริมจากการเปลี่ยนแปลงของจุดมุ่งหมายเราต้องมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบที่แน่นอนแต่การที่จะ มาเป็นผู้นำของหรือคนอื่นนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนตนเองเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับเป็นคนที่ดูมีความน่าเชื่อถือคนก็จะมีความศรัทธา    
สามารถนำไปใช้ประโยชน์    ฐานะการเป็นผู้นำคงไม่ใช่เรื่องยากที่ใครจะเป็นกัน ผมเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถที่จะเป็นผู้นำได้เพียงทำตนให้เป็นประโยชน์ มีน้ำใจ ฝึกการเป็นผู้ให้   แล้วจะมีคนมายกย่อง  และศรัทธาในตัวเราเองเมื่อถึงเวลา