...

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

                                                แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้  พระพุทธศาสนา                     เวลา  2   ชั่วโมง
รายวิชาสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม       ช่วงชั้น 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
เรื่อง   พุทธประวัติ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554                           นายชานนท์ แสงสวัสดิ์ ผู้สอน
มาตรฐาน  ส.1.1 เข้าใจประวัติ  ความสำคัญ  หลักธรรมพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ     และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
_______________________________________________________________
1.   สาระสำคัญ
พระพุทธเจ้าขณะประสูติทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าว พระองค์ทรงเจริญวัยภายใต้ความสุขและโภคทรัพย์ตามแบบอย่างกษัตริย์ ขณะเสด็จประพาสพระนครได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตในเพศฆราวาสที่เต็มไปด้วยความทุกข์ จึงเสด็จออกผนวชแสวงหาโมกข-ธรรมและบำเพ็ญทุกรกิริยาตามคติความเชื่อของสังคมอินเดียสมัยนั้น ทั้งนี้เราสามารถศึกษาเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าได้จากชาดก
พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้วได้ทรงประกาศธรรมและมีผู้เลื่อมใสในธรรมประกาศตนเป็นพุทธสาวก พุทธสาวิกา ประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ดำรงตนเป็นแบบอย่างชาวพุทธที่ดีงาม
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.   อธิบายและวิเคราะห์พุทธประวัติ ตอนประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ และการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้าได้
2.อธิบายคุณธรรมและแบบอย่างชีวิตที่ดีของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
3.สามารถวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฎในชาดกเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
                ด้านความรู้
      1.   พุทธประวัติ : การประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา
                ด้านทักษะ/ กระบวนการ
                    1.   ทักษะการคิดวิเคราะห์           
                    2.    กระบวนการกลุ่ม
                    3.    การศึกษาค้นคว้า
       4.     การนำเสนอ

                ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน
      -   มีความรับผิดชอบและขยัน
      -   มีการตรงต่อเวลา
      -   มีความกล้าแสดงออก
      -   มีความมือในการทำงานกลุ่มเวลาครูมอมหมายงาน
 3. สาระการเรียนรู้
  1.      พุทธประวัติ :
       -ประสูติ
       -เทวทูต 4
      - การแสวงหาความรู้
      -การบำเพ็ญทุกรกิริยา
4. ชิ้นงาน/หลักฐานการเรียนรู้
                1. หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
                2.  ใบงาน
5. การบูรณาการ
                การบูรณาการแบบสอดแทรกคุณธรรม
6. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
            1.ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ด้วยการสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและนั่ง             สมาธิ 3-5 นาที
                2. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 10 ข้อ  หน่วยพระพุทธศาสนาประมาร 5นาที
                4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการกำเนิดของพระพุทธเจ้าว่าเกิดขึ้นอย่างไร
ชั่วโมงที่ 2
1.  ครูทบทวนความรู้เดิมจากคาบที่แล้วประมาร10 นาที
                2. ครูให้นักเรียนดู วีชีดี เกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติการกำเนิดของพระพุทธเจ้า
                3. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์สรุปเรื่องพุทธประวัติพร้อมให้นักเรียนทำใบงานเรื่องพุทธประวัติ
7.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
                1.หนังสือหรือ เอกสารประกอบการสอนหน่วยพระพุทธศาสนา       
2. ใบงานที่ 1เรื่อง พุทธประวัติ
                3.แบบทดสอบก่อน- หลังเรียนหน่วยพระพุทธศาสนา         
                4. ห้องสมุดหมวด/ โรงเรียน
                5. อินเตอร์เนต
                6. วีซีดีพุทธประวัติ
8. การวัดและประเมินผล
             สิ่งที่ต้องการวัด
   วิธีวัดผล
 เครื่องมือ
           เกณฑ์
1. ความรู้(K)
พุทธประวัติ ตอนการประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา  ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา พระมหากัสสปะ พระอุบาลี นางวิสาขา และ ประวัติชาดก  อัมพชาดก และติตติรชาดก

-  ทดสอบ
-  ตรวจใบงาน

- แบบทดสอบ
- ใบงาน

-  ผ่านเกณฑ์ 50%
2.ทักษะ/ กระบวนการ(P)
1.   ทักษะการคิดวิเคราะห์  
                    2.     กระบวนการกลุ่ม
                    3.     การศึกษาค้นคว้า
      4.   การนำเสนอ


-  สังเกตพฤติกรรม
-  สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

- แบบ สังเกตพฤติกรรม
-  แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

- เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
- ผ่านระดับคุณภาพ
3.คุณลักษณะผู้เรียน(A)
-   มีความรับผิดชอบ
-   มีการตรงต่อเวลา
-   มีความกล้าแสดงออก
- มีความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเวลาครูมอมหมายงาน

-  สังเกตพฤติกรรม


-  แบบสังเกตพฤติกรรม


- มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความเข้าใจและเห็นความสำคัญของของพุทธประวัติ พุทธสาวก พุทธสาวิกา พระมหากัสสปะ พระอุบาลี และนางวิสาขา และ ประวัติชาดก  อัมพชาดก และติตติรชาดกและนำมาเป็นแบบอย่างปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เห็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น